top of page

Creater รุ่นเก๋า กับงานริบบิ้นที่ครีเอทสุดๆ

อัปเดตเมื่อ 28 ต.ค. 2562


เป็นของที่ระลึกรุ่นเก่าที่ เรียกได้ว่าครีเอทสุดๆไปเลย

หากใครมีโอกาศท่องเที่ยวแบบทริปล่องเรือกลไฟชมแม่น้ำ มิสซิสซิปปี้ ในช่วงปี 1866 แล้วล่ะก็ คุณจะได้รับของที่ระลึกสุดครีเอทเป็น "แผนที่แบบม้วน" ลักษณะเป็นม้วนผ้าลินินพันอยู่บนแกน และมีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ท่าเรือ และชายฝั่งใกล้เคียง

เมื่อคุณเริ่มดึงมันออกจะเป็นการเริ่มการเดินทางไปกับเรือกลไฟ พร้อมแนะนำสถานที่ต่างๆข้างทางโดยข้อมูลที่อยู่ในแผนที่แบบม้วนนี้ ระบุข้อมูลตั้งแต่ อ่าวแม็กซิโกไป จนถึงทางตอนเหนือของรัฐ มินิโซตา แผนที่สุดครีเอทม้วนนี้มีความยาวทั้งสิ้น 11ฟุตและกว้างเพียงแค่ 3นิ้วเท่านั้น ถ้าย้อนไปถึงช่วงเวลานั้นการออกแบบแผนที่แนวใหม่นี้เรียกได้ว่าเป็น ไกด์มือถือในยุคดิจิตอลปัจจุบันได้เลย แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดภาพแผนที่แบบม้วนนั้นเกิดจากการที่ แต่เดิมการใช้แผนที่เป็นแบบผืนผ้าปกติ หากมีลมพัดแรงการดูแผนที่จะเป็นเรื่องยุ่งยากน่ารำคาญ แต่พอเปลี่ยนมาใช้แผนที่แม่น้ำแบบม้วน ทำให้ความยุ่งยากในเรื่องของลมหมดไป และในเรื่องของดีไซน์นั้นเรียกได้ว่าล้ำยุคสุดๆไปเลย



Jim Akerman Curator of Maps at Chicago's Newberry Library ภัณฑารักษ์ หรือ ผู้ดูแลแผนที่แห่งห้องสมุด นิวเบอรี่ รัฐชิคาโก ชีว่าแผนที่ Ribbon Map of the Father of Waters เป็นแผนที่ ที่มีข้อมูลเชิงลึก โดยแผนที่นี้ถูกออกแบบมาแบบ เป็นกำหนดการเดินทางในส่วนของแม่น้ำเท่านั้นหรือ เรียกว่าเป็น แถบแผนที่เฉพาะแนว แม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ซึ่งแตกต่างจากแผนที่ ปกติแบบอื่นๆที่แสดงภาพข้อมูลทั้งหมดปรับเทียบเป็น ตารางกิโลเมตร เหมือนกับแผนที่ถนน หรือ คู่มือเส้นทางอื่นๆ โดยแผนที่ Ribbon Map of the Father of waters นั้นเป็นแผนที่แบบเจาะจง และให้ข้อมูลเฉพาะ เหมือนกับแผนที่ในยุคโบราณ ตัวอย่างการวาดแผนที่แนวนี้นั้นมาจาก การเดินทางสอบถามข้อมูลด้วย วาจาและจัดบันทึกข้อมูลและลักษณะของพื่นที่เป็น ลายลักษณ์อักษร ในอดีตถูกใช้โดยชาวโรมันโบราณ ใช้ในการวางแผนไปยังเมืองใกล้เคียงหรือ ชาวยุโรปยุคกลางก็เช่นกัน วิธีการอ่านแผนที่จะเป็น แบบขอเส้นทางจากเพื่อน ดูตามจุดสังเกตุที่ใส่ไว้ในแผนที่ โดยจะไม่สามารถบอกระยะทางที่แน่นอนได้ เหมือนกับแผนที่ในปัจจุบัน



THE PATHFINDERS ผู้เบิกทาง

Zadok Cramer

เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้จัดทำและเผยแพร่ The Navigator.(หนังสือ แนะนำข้อมูลการเดินทาง ทางแม่น้ำในปี 1801) เดิมที The Navigator ถูกตั้งใจใช้เป็นคู่มือสำหรับผู้อพยพชาวตะวันตก แต่ภายหลังได้กลายมาเป็นคัมภีร์ไบเบิลสำหรับ ผู้ขับเรือขนาดเล็กทั้ง ไปจนถึงเรือกลไฟ





และ ผู้ที่จัดทำแผน Ribbon Map of the Father of Waters พระเอกของบทความนี้ ในปี 1860 ผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตแผนที่ เล็งเห็นว่า มีตลาดสำหรับแผนที่ๆมีข้อมูลเฉพาะแม่น้ำอย่างเดียวโดยต้องการทำแผนที่ๆระบุข้อมูลตามความยาวของมันแบบละเอียด


Myron Coloney และ Sidney B.Fairchild หรือ ที่ ฉายาที่เรียกว่า Coloney and Fairchild ได้จัดทำแผนที่ Ribbon Map of the Father of Waters ฉบับสมบูรณ์จาก เดิมที่เป็นเพียงแผ่นข้อมูล มาผลิตเป็นแผ่นงานแผ่นเดียว แนบติดกันตั้งแต่ต้นจนจบ ติดเข้าไปบนผ้าลินินแล้วม้วนเข้าไปในแกนไม้ แกนโลหะ หรือ แกนม้วนกระดาษ และสิทธิบัตรของ Ribbon Map of the Father of Waters ก็ตกเป็นของ Coloney และ Fairchild


แต่ในการใช้งานจริงแผนที่ Ribbon Map of the Father of Waters ไม่ได้เป็นประโยชน์ในการเดินเรือกลไฟเลย เนื่องจาก ช่องทางของแม่น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ กัปตันเรือกลไฟ ยังต้องอาศัยประสบการณ์ข้อมูลโดยรอบจากเครือข่ายของกัปตันรวมไปถึงข้อมูลที่ได้รับการบอกเล่าต่อๆกันมาในช่วงเวลานั้น กัปตัน Luarca - Shoaf ผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่า มันคงไม่สะดวกสำหรับผู้ที่เดินทางไปตะวันตก แต่แผนที่นี้ถูกวางตลาดมาสำหรับ นักท่องเที่ยวที่ เดินทางด้วยเรือกลไฟเดินทางไปตามแม่น้ำ มิสซิสซิปปี้เพื่อชื่นชม ทิวทัศน์


"The river was a source of great awe," แม่น้ำคือแหล่งของความกลัวอันยิ่งใหญ่ Luarca-Shoaf กล่าวว่า ผู้คนที่มาจากฝั่งตะวันออกไม่สามารถเข้าใจความกว้างและความยาวของแม่น้ำ มิสซิสซิปปี้ได้ และด้วยแผนที่ Ribbon Map of the Father of Waters ทำให้ผู้คนที่มาจากฝั่งตะวันออกสามารถ รับรู้ข้อมูลและเพลิดเพลินไปกับการเดินทางได้เป็นอย่างดี

รับผลิตริบบิ้นสกรีน ป้ายแบรนด์ ป้ายคอเสื้อ ป้ายแคร์ ป้ายแท็ก งานริบบิ้นCustomอื่นๆ
- เพิ่มช่องทางการติดต่อให้กับลูกค้าของคุณ
- เพิ่มมูลค่าสินค้า
- สร้างแบรด์ของตัวเอง
สอบถามข้อมูล แอทไลน์คลิก > http://nav.cx/cZbUUPg
ไลน์ @Qlabel อย่าลืมพิมพ์@แอทนะครับ
FB : @SQRLShop IG : Qlabel2019
ทำเบลอ:https://qlabel.tumblr.com/
นกน้อยสีฟ้า:https://twitter.com/qlabel2
📞 063-343-3374 ติดต่อขอสาย โจ ครับแต่อินบ๊อกไปไวกว่านะเรามีแอทมินเป็นนกฮูก
ดู 47 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page